เบื้องหลัง อากงจุน เจ้าของฮาตาริ บริจาค รพ.รามาธิบดี 900 ล้าน

เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งเรื่องความประทับใจของใครหลายๆคนที่เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2565 เฟซบุ๊ก Ramathibodi School of Nursing Faculty of Medicine Ramathibodi Hospital มีรายงานว่า บริษัท ฮาตาริ อิเลคทริค จำกัด โดย คุณจุน คุณสุนทรี วนวิทย์ และ ครอบครัว บริจาคเงิน 900 ล้านบาท แก่ มูลนิธิรามาธิบดีฯ

โดยมี ศ.นพ.ปิยะมิตร ศรีธรา คณบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพย าบาลรามาธิบดี มหาวิทย าลัยมหิดล พร้อมด้วย รศ.ดร.พูลสุข เจนพานิชย์ วิสุทธิพันธ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนพย าบาลรามาธิบดี และ ผศ.นพ.ภาวิทย์ เพียรวิจิตร รองคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กร เป็นตัวแทนร่วมรับมอบ ทั้งนี้ ในจำนวนเงิน 900 ล้านบาท จะแบ่งไปปรับปรุงส่วนต่าง ๆ ดังนี้

ปรับปรุงอาคารโรงเรียนพย าบาลรามาธิบดี 160 ล้านบาท สมทบทุนโครงการศูนย์การแพทย์รามาธิบดีศรีอยุธย า 300 ล้านบาท สมทบทุนโครงการอาคารโรงพย าบาลรามาธิบดี แล ะย่านนวัตก รรมโยธี เป็นจำนวนเงิน 440 บาท ขณะเดียวกัน ทวิตเตอร์ @pichai_online มีการโพสต์เช็คการจ่ายเงิน 900 ล้านบาทให้แก่มูลนิธิรามาธิบดี ของธนาคารยูโอบี

ซึ่งเงินดังกล่าวจะเข้าในวันที่ 29 กรกฎาคม 2565 ส่วนชาวเน็ตที่เห็นโพสต์ดังกล่าว ต่างอนุโมทนาบุญกับการบริจาคในครั้งนี้ สำหรับประวัตินายจุน เกิดวันที่ 7 พฤษภาคม 2480 วัยเด็กไม่ได้เรียนหนังสือในโรงเรียน จึงไม่มีคุณวุฒิทางการศึกษา แต่ว่าด้วยความขยันหมั่นเพียร หาความรู้อยู่ตลอด เป็นผลทำให้มีความแตกฉานหลายเรื่อง

จนสามารถพัฒนาต่อยอดและประสบความสำเร็จในชีวิต ชีวิตในวัยเด็ก เริ่มทำงานเป็นลูกจ้างกวาดพื้นร้านขายข้าวสารส่งออกต่างประเทศที่ถนนสี่พระย า ตั้งแต่อายุ 12 ปี แล้วก็เปลี่ยนอาชีพตามลำดับ ได้แก่ ช่างทำทอง ขับรถโดยสารรับจ้าง ลูกจ้างร้านทำป้ายพลาสติก ลูกจ้างโรงกลึง ช่างทำแม่พิมพ์สำหรับชิ้นงานพลาสติก ด้วยความที่มีการประกอบอาชีพหลากหลาย

ทำให้ตอนอายุ 28 ปี พ.ศ. 2508 จึงสามารถทำโครงพัดลมพลาสติกขึ้นได้ ทั้งที่ยุคนั้นโครงกรอบพัดลมล้วนทำด้วยโลหะอะลูมิเนียม ก่อนที่จะเสนอขายชิ้นงานให้โรงงานผลิตพัดลมจนกลายเป็นการเปลี่ยนยุคเป็นพัดลมโครงพลาสติกเป็นต้นมา ต่อมา นายจุนเรียนรู้การพันมอเตอร์ที่ไต้หวัน แล้วจึงมาผลิตพัดลมที่ใช้ชิ้นส่วนพลาสติกออกจำหน่ายเป็นของตัวเอง

 

ตอนแรกใช้ยี่ห้อ K และ ยี่ห้อ TORY กระทั่งอายุ 52 ปี พ.ศ. 2532 จึงผลิตพัดลมฮาตาริจำหน่ายเป็นครั้งแรก และ กิจการก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง ขยายกิจการจากพัดลมเป็นเครื่องฟอกอากาศ เครื่องซักผ้าขนาดเล็ก ส่วนแนวทางการประกอบธุรกิจ มีอยู่ 2 ประการคือ 1. ใช้ต้นทุนเท่าเดิม ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 2. ใช้ต้นทุนลดลง ได้ผลผลิตเท่าเดิม ในการผลิตสินค้าต่างๆ ของนายจุน

ดำเนินการโดยบริษัทในเครือวนวิทย์กรุ๊ป และ ในตอนนี้มีพนักงานกว่า 2,000 คน ส่งผลิตภัณฑ์วางขายทั้งไทยและต่างประเทศ มีผลประกอบการปีละ 4 พันล้านบาท มีส่วนแบ่งการตลาดพัดลมในประเทศถึง 80% จนสามารถลดการนำเข้าพัดลมจากต่างประเทศได้เกือบทั้งหมด เมื่อประสบความสำเร็จ นายจุนก็ได้ตอบแทนสังคม ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสโดยไม่แสดงตัว

เช่น การบริจาคทรัพย์ให้โรงพย าบาลต่างๆ สร้างศูนย์วิปัสสนาและมอบเงินอุดหนุนให้ยุวพุทธิกสมาคม สร้างสะพานลอยข้ามถนน บริจาคเงินให้โรงเรียนและสถาบันการศึกษาทุกระดับมูลค่าร่วมร้อยล้านบาท และ ทุกวันนี้ก็ยังทำอยู่เสมอ จนเป็นผลให้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานเครื่องราชอิสริย าภรณ์ อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์

ชั้นสายสะพายปฐมดิเรกคุณาภรณ์ ส่วนในปี 2555 มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จึงมีมติเอกฉันท์ให้นายจุน ได้รับพระราชทานปริญญ าปรัชญ าดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ เพื่อเป็นเกียรติประวัติสืบไป เพราะสิ่งที่ได้กระทำมากว่า 50 ปี เป็นประโยชน์ต่อสังคมและประเทศชาติโดยรวม